พื้นฐานหุ่นยนต์ในงานอุตสาหกรรม ฉบับผู้ใช้งาน
(ตอนที่ 1)
ในปัจจุบันภาคอุตสาหกรรมการผลิต
มีการแข่งขันที่เพิ่มขึ้น การเกิดตลาดใหม่ การเพิ่มขึ้นของคู่แข่งในภูมิภาค
และประเทศคู่แข่งทางการผลิตที่มีความพร้อมของค่าจ้างแรงงาน
สร้างผลกระทบต่อผู้รับจ้างผลิตของไทย ทั้งด้านต้นทุน คุณภาพ
และความสามารถในการผลิต ซึ่งทำให้รูปแบบการผลิตที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้
มีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยน
เพื่อเพิ่มความสามารถการแข่งขันกับคู่แข่งในระดับภูมิภาคและระดับโลก
และสายการผลิตแบบอัตโนมัตินั้นได้มีการใช้งานกันในระบบการผลิตของภาคอุตสาหกรรมเป็นปกติอยู่แล้ว
แต่มักเป็นผู้ประกอบการขนาดใหญ่หรือมาจากการย้ายฐานหรือเทคโนโลยีการผลิตแบบอัตโนมัติมาพร้อมกับการเริ่มต้นธุรกิจ
สถานการณ์ปัจจุบันกับการเปลี่ยนแปลง
ในปัจจุบันระบบการผลิตแบบอัตโนมัติได้มีการพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพ
และมีราคาที่ผู้ประกอบการผลิตอุตสาหกรรม ขนาดกลางและเล็กสามารถเข้าถึงและใช้งานได้
และมีโซลูชั่นมากมายหลายรูปแบบ แต่การเลือกระบบอัตโนมัติ
มิได้พิจารณาเฉพาะด้านต้นทุน คุณภาพ และความสามารถในการผลิต
ยังมีปัจจัยเรื่องความยากง่ายในการใช้งาน การอัพเกรด การซ่อมบำรุง การใช้พลังงาน
ตัวบุคลากรผู้ใช้งาน ทำให้ผู้ใช้งาน เกิดความยากในการตัดสินใจเลือกใช้งาน
และกังวลต่อประสิทธิภาพ หรืออาจมองไม่ครอบคลุม
การพิจารณาที่ราคาต่ำอย่างเดียวจึงกลายเป็นอุปสรรคในการแข่งขันเพราะระบบที่เลือกไม่เหมาะสม
นอกจากเทคโนโลยีอัตโนมัติแล้ว
หุ่นยนต์อุตสาหกรรมถือเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ระบบอัตโนมัติเพื่อการผลิต
และเป็นหนึ่งในวิธีการเพิ่มความสามารถในการผลิต
ซึ่งปัจจุบันผู้ประกอบการผลิตในภาคอุตสาหกรรมให้ความสนใจในการปรับเปลี่ยนระบบอัตโนมัติเดิมมาเป็นการใช้หุ่นยนต์อุตสาหกรรมเป็นหนึ่งในสายการผลิต
ซึ่งจากการคาดการณ์ ของ IFR (International Federation of Robotics) ยอดขายหุ่นยนต์ทั่วโลกจะเพิ่มขึ้น
6% โดยเฉลี่ยต่อปี จาก ปี พ.ศ.2557 ถึง ปี พ.ศ. 2559 และในปีต่อๆ ไปอย่างต่อเนื่อง
และนั่นหมายความว่าหุ่นยนต์อุตสาหกรรมจะเริ่มเข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมากในกระบวนการผลิต
เราในฐานะแรงงานที่ต้องรับผลกระทบโดยตรงจึงต้องมีการปรับเปลี่ยนวิธีการให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตด้วย
และเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น
ผู้เขียนจึงขอนำเสนอข้อมูลความรู้ขึ้นพื้นฐานเกี่ยวกับหุนยนต์ในงานอุตหุ่นยนต์ในงานอุตสาหกรรม
เป็นเครื่องจักรกลอัตโนมัติอีกรูปแบบหนึ่งที่ถูกออกแบบและสร้างมาเพื่อนำมาใช้ทดแทนคนในกระบวนการผลิตต่างๆ
หรือนำมาใช้เพื่อช่วยในกระบวนการผลิตในลักษณะหุ่นยนต์ทำงานร่วมกับคน
ซึ่งหุ่นยนต์ที่ถูกสร้างมานั้นมีหลากหลายชนิดขึ้นอยู่กับลักษณะของงานที่ต้องการนำมาประยุกต์ใช้งาน
สำหรับหุ่นยนต์ในงานอุตสาหกรรมนั้นสามารถแบ่งออกได้ ตามลักษณะการทำงาน ได้ 7 ชนิด
ดังนี้
Cartesian
Robot
Cylindrical
Robot
Polar
Coordinate Robot
Scalar Robot
Articulate
Robot
Spine Robot
Parallel
link Robot
หุ่นยนต์อุตสาหกรรม
ทั้ง 7 ชนิดที่กล่าวมาข้างต้นนั้น
จะมีความแตกต่างกันตรงลักษณะการเคลื่อนที่และความสามารถในการทำงานที่ไม่เหมือนกัน
รวมไปถึงการประยุกต์ใช้งานที่ต่างกันด้วยแต่ทั้งหมดถูกสร้างขึ้นมาด้วยหลักการพื้นฐานเดียวกัน
ในที่นี้ผู้เขียนจะขอกล่าวถึงเฉพาะส่วนของหุ่นยนต์ที่ถูกนำมาประยุกต์ใช้งานในภาคอุตสาหกรรมมากที่สุด
นั่นคือ Articulate Robot
อันเนื่องมาจากหุ่นยนต์ชนิดนี้มีความสามารถในการทำงานและสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในงานอุตสาหกรรมได้หลากหลายรูปแบบมากกว่าขนิดอื่นๆ
นั่นเอง
Articulate
Robot เป็นหุ่นยนต์ที่ออกแบบมาให้มีลักษณะคล้ายคลึงกับแขนของมนุษย์ตั้งแต่ช่วงหัวไหล่ไหลลงไป
นั้นหมายความว่าหุ่นยนต์ชนิดนี้
จะมีความสามารถในการทำงานและความสามารถในการเคลื่อนที่ได้ในลักษณะที่คล้ายกับการเคลื่อนที่ของแขนมนุษย์นั่นเอง
หลายๆ คนจึงมักเรียกหุ่นยนต์ชนิดนี้ว่า ‘แขนกล’สาหกรมเพื่อให้ทุกท่านได้เข้าใจและสามารถประยุกต์ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จากรูปที่ 1 ที่แสดงด้านบนนั้นเป็นลักษณะของ Articulate
Robot หรือที่เรียกกันว่า แขนกล
จะเห็นได้ว่ามีโครงสร้างที่คล้ายคลึงกับของของมนุษย์
ซึ่งนั่นหมายความว่าหุ่นยนต์ชนิดนี้ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในการหยิบจับชิ้นงานในกระบวนการผลิต
แต่ในปัจจุบันนี้หุ่นยนต์ชนิดนี้ถูกนำมาประยุกต์ใช้งานให้มีความสามารถมากกว่าทำงานใช้หยิบจับชิ้นงาน
ไม่ว่าจะเป็นการประยุกต์ใช้ในกระบวนการงานเชื่อมโลหะต่างๆ งานพ่นสี หรืองาน Spot Gun และบางองค์กรยังมีการพัฒนาให้หุ่นยนต์ชนิดนี้สามารถทำงานในกระบวน
Machining อีกด้วย จากตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานข้างต้น
จะเห็นได้ว่าหุ่นยนต์จะถูกนำมาใช้งานทดคนนั่นเป็นเรื่องจริงเลยทีเดียว
ข้อดีของการใช้หุ่นยนต์เพื่อนำมาทำงานทดแทนคนก็เพราะหุ่นยนต์มีสิ่งที่ไม่เหมือนคน
ดังนี้
-หุ่นยนต์มีความแม่นยำและความเที่ยงตรงในการทำงาน
-หุ่นยนต์มีความสามารถในการทำงานในกระบวนซ้ำๆ
ได้ดีกว่า
-หุ่นยนต์สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบกระบวนการทำงานได้หลากหลาย
-หุ่นยนต์สามารถประยุกต์ใช้งานได้ในหลากหลายสภาพแวดล้อม
จากเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้นล้วนเป็นข้อดีของหุ่นยนต์ที่จะถูกนำมาใช้งานทดแทนคน
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่ามันจะดีไม่กว่าคนเสียทั้งหมด แน่นอนว่าหุ่นยนต์ก็คือเหล็กที่ถูกนำมาประกอบเข้าด้วยกันและใส่กลไกต่างๆ
ให้สามารถเคลื่อนที่ได้ อีกทั้ง ยังต้องมีระบบในการควบคุบการทำงาน ดังนั้น
การที่หุ่นยนต์จะทำงานหรือเคลื่อนที่ได้จะต้องอาศัยทักษะและความรู้จากคนอยู่ดี
ทั้งนี้ เพื่อทำหน้าที่ในการป้อนโปรแกรมคำสั่งต่างๆ เพื่อให้หุ่นยนต์สามารถทำงานได้ตามที่มนุษย์ต้องการ
เราจึงต้องมีการเตรียมพร้อมเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น
องค์ประกอบของระบบควบคุมหุ่นยนต์
ในตอนแรกนี้ผู้เขียนขอทิ้งท้าย
ให้ทุกท่านทราบเกี่ยวกับองค์ประกอบของระบบควบคุมหุ่นยนต์กันไว้เพื่อที่จะได้เตรียมความพร้อมในเรื่องต่อไปในตอนหน้า
สำหรับองค์ประกอบของระบบในการควบคุมหุ่นยนต์ประกอบด้วย องค์ประกอบหลัก คือ
Programming Pendent : อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการป้อนคำสั่งโดยผู้ควบคุมหรือ
User
Controller : ส่วนที่ทำหน้าที่ในการรับคำสั่งจาก User ผ่าน
Programming Pendant และนำมาประมาณผล
เพื่อทำการควบคุมหรือสั่งการทำงานของหุ่นยนต์
Manipulator : เรียกง่ายๆ ว่า ตัวหุ่นยนต์
ที่จะทำงานตามคำสั่งที่ผ่านการประมวลผลจาก Controller
รูปที่
2 : องค์ประกอบของระบบควบคุมหุ่นยนต์
จากรูปที่ 2 ที่แสดงด้านบนนั้นเป็นองค์ประกอบของระบบควบคุมหุ่นยนต์
ซึ่งจะมีอยู่ด้วยกัน 3 ส่วนหลัก และจะเห็นได้ว่าองค์ประกอบทั้ง 3 นั้น
จะมีความสัมพันธ์กันในกระบวนการควบคุมซึ่งในแต่ละส่วนนั้นก็มีรายละเอียดที่สลับซับซ้อนอยู่มากทีเดียวและนี่จึงเป็นเหตุผลที่เราต้องทำความรู้จักกับมันให้มากเพื่อที่จะได้สามารถทำงานร่วมกับมันได้
ประเภทของหุ่นยนต์อุตสาหกรรมในปัจจุบัน
ประเภทของหุ่นยนต์อุตสาหกรรมในปัจจุบันหุ่นยนต์อุตสาหกรรมในปัจจุบันมีมากมายหลากหลายรูปแบบ
มีการใช้งานและจุดเด่นที่แตกต่างกัน Modern Manufacturing ขอนำเสนอรูปแบบหุ่นยนต์ที่สามารถเจอได้ในอุตสากรรมการผลิตในยุคปัจจุบัน
หุ่นยนต์อุตสาหกรรม
ตามความหมายของ ISO 8373:2012: หมายถึง การควบคุมอัตโนมัติ
ความสามารถในการถูกตั้งโปรแกรมหรือการตั้งค่าการทำงานได้อย่างหลากหลายด้วยระบบตั้งแต่
3 แกนขึ้นไป
สามารถเป็นได้ทั้งรูปแบบติดตั้งและรูปแบบที่สามารถเคลื่อน
Linear Robot คือ
หุ่นยนต์ที่ทำงานบนแกนตั้งฉากซึ่งหมายรวมถึงหุ่นยนต์แบบ Cartesian และ
Gantry เอาไว้ด้วยกัน โดยสามารถทำงานได้บน 3 แกน X Y และ
Z ด้วยการเคลื่อนที่แนวตรงทำให้การทำงานมีความแม่นยำสูงและออกแบบการทำงานได้ง่าย
มีความแข็งแกร่งทนทานเนื่องจากมีระยะการใช้งานที่แน่นอน
นิยมใช้ในการหยิบจับเพื่อทำการประกอบ เช่น การประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
หรือติดชิ้นส่วนยานยนต์ด้วยสารเคมี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น